เว็บไซต์​ ดร.สมชาย​ หาญ​หิรัญ​ ช่องทางอีกช่องทางหนึ่งในการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้และข่าวสารครับ

thzh-CNenja

วันนี้เรามีข้อมูลของ SME มากน้อยเพียงใด

 

วันนี้มีกว่าเกือบ 30 หน่วยงานที่ทำงานพัฒนา SME ในเกือบทุกกระทรวง สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน เพียงแต่ไม่ค่อยโยงกัน แต่ละหน่วยก็ทำตามบริบทและภารกิจในกรอบของตนเอง วันนี้เรามีข้อมูลของ SME มากน้อยเพียงใด จำนวนที่พูดกันก็มาจากการทำสัมมะโนธุรกิจที่เก็บ 5 ปีครั้ง รายละเอียดไม่ครบถึงระดับไมโคร ...

ผมยังมั่นใจว่า สสว. ต้องได้รับการปรับอำนาจเบ็ดเสร็จ ในการมีความรับผิดชอบการพัฒนา ตั้งแต่การกำหนดนโยบายภาพรวมของ SME การกำหนดงบประมาณ ยุทธศาสตร์ แผนงาน และการมอบหมายผ่านงบประมาณให้หน่วยปฏิบัติอื่นๆ โดยในระดับพื้นที่ต้องมีคณะกรรมการ SME ในพื้นที่ โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และ สสว. จังหวัดเป็นเลขานุการ .. ทำหน้ากำหนดทิศทางการพัฒนา SME ในจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด และรวบรวมพลังหน่วยงานต่างจังหวัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และโยงการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นเครือข่ายที่แข็งแกร่งเพื่อช่วยเหลือ SME ได้ครบทุกมิติ ... ส่วนสภาฯ ต่างๆ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของ infrastructure ของการพัฒนา SME ..การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบการพัฒนา SME นี้ต้องเป็นนโยบายระดับชาติที่นายกรัฐมนตรีหรืออย่างต่ำคือรองนายกฯ เศรษฐกิจต้องเป็นแม่งานเอง ....ถ้าไม่เช่นนั้แก้ยากครับ ทุกหน่วยพร้อมทำแบบเดิม ...เล่าเรื่องความสำเร็จแบบเดิมๆ รายเดิมๆ ซึ่งก็ไม่เสียหายอะไร แต่แทบไม่มี impact ในระดับ macro … ผมว่าก่อนพัฒนากลยุทธ์ให้ SME เราลองพัฒนากลยุทธ์การให้การสนับสนุน SME ของภาครัฐก่อนกันมั๋ย.. ประสบการณ์สอนผมว่า ทุกคนทุกหน่วยงานมองตัวเองเป็นหลัก สารพัดข้อแก้ตัวในข้อจำกัดที่มี และหากไม่เปิดใจเปลี่ยนวิธีคิดและการทำงานของหน่วยงานแล้ว ยากครับกับคำว่า “บูรณาการ” ในระยะสั้นนี้ผมยังเชื่อว่าผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็น CEO ในบริบทระดับพื้นที่ที่ดีที่สุดของการพัฒนา SME โดยมี สสว เป็นผู้ช่วยในการทำงานในระดับจังหวัด และเป็นเสธ. ในระดับประเทศ